การรักษาฟันเด็ก

การรักษาฟันเด็ก ดูแลโดยทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็ก

       คุณพ่อคุณแม่ควรพาน้องๆมาพบหมอฟันตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลรักษาฟันน้ำนมซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้ฟันแท้ เพราะฟันน้ำนมนั้นมีหน้าที่ช่วยในการบดเคี้ยวอาหาร ทำให้เด็กได้รับสารอาหารครบถ้วน ช่วยให้ออกเสียงได้ชัดเจน มีรอยยิ้มที่สวยงามและที่สำคัญที่สุดคือช่วยรักษาพื้นที่ให้ฟันแท้ขึ้นและเรียงตัวได้อย่างสวยงาม

การอุดฟันน้ำนม คืออะไร

          อุดฟันน้ำนม (Milk Tooth Filling) คือวิธีการรักษาโรคฟันผุที่เกิดขึ้นในเด็ก ด้วยการใช้วัสดุทางการแพทย์อุดรูบนผิวฟันในส่วนที่มีการผุเกิดขึ้น เพื่อให้ฟันน้ำนมที่ผุสามารถกลับมาใช้งานได้ดีตามปกติไม่ส่งกระทบต่อการดำเนินชีวิต โดยวิธีการหรือขั้นตอนการรักษาที่คล้ายกับการอุดฟันแท้ในผู้ใหญ่

                                                 

วัสดุอมัลกัม: มีสีเงิน มีความแข็งแรง ทนทาน นิยมใช้อุดฟันกราม เพราะมีความแข็งแรงทนทานต่อการบดเคี้ยวได้ดี

วัสดุคอมโพสิตเรซิน: มีสีเหมือนฟัน ให้ความสวยงาม เป็นธรรมชาติ นิยมใช้อุดฟันหน้าหรือบริเวณที่ยิ้มแล้วเห็นฟัน

การรักษารากฟันน้ำนมคืออะไร

เหตุผลที่ต้องมีการรักษารากฟันเด็ก

       การรับประทานอาหารในวัยเด็กนั้นมักจะไม่ค่อยมีการเลือกทาน รวมถึงเด็กยังไม่มีการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันดีเท่าผู้ใหญ่ ดังนั้นเมื่อมีเศษอาหารหรือคราบอาหารเกาะติดอยู่กับฟันนาน ๆ ก็อาจทำให้เชื้อโรคนั้นเกิดการสะสมและลุกลามไปสู่ส่วนอื่นของฟันได้ ทำให้เนื้อฟันถูกทำลาย จนเกิดการเจ็บปวดบริเวณนั้นตามมา ซึ่งการรักษารากฟันในเด็กสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ หากลูกน้อยของคุณนั้นเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับฟันหรือรากฟันทันตแพทย์จะทำการประเมินว่าสามารถรักษารากฟันน้ำนมได้หรือไม่ หากสามารถรักษาได้ก็ไม่จำเป็นต้องถอนฟันเสมอไป

ข้อดีของการรักษารากฟันเด็ก ก่อนที่ฟันแท้จะขึ้น

          ก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นมานั้นเป็นกระบวนการหนึ่งในการเตรียมการเพื่อให้ฟันแท้ขึ้นอย่างปกติและสวยงาม หากไม่มีการรักษารากฟันน้ำนม ฟันแท้อาจขึ้นมาอย่างไม่สวยงาม ผิดรูป รวมไปถึงอาจทำให้ฟันแท้ซี่ข้างเคียงที่ขึ้นมานั้นได้รับเชื้อโรคหรือแบคทีเรียจากฟันผุซี่ใกล้เคียง จนอาจลุกลามทำให้ฟันแท้ผุได้เช่นกัน 

การครอบฟันคืออะไร

ครอบฟันราคาไม่แพง แนะนำราคาครอบฟันโลหะ เซรามิก และผสมโลหะ

ครอบฟันโละ

 

 

ครอบฟันสีเหมือนฟัน

        การครอบฟันเป็นวิธีการรักษาฟันที่แตกหักหรือบิ่นโดยทันตแพทย์จะใช้วัสดุเลียนแบบซี่ฟันธรรมชาติ สวมครอบฟันที่เสียหายลงไปทั้งซี่ วัสดุที่ใช้อาจทำจากโลหะล้วนทั้งซี่ด้วยวัสดุเซรามิคล้วน หรือผสมระหว่างโลหะและเซรามิค เพื่อให้ฟันแข็งแรงและสวยงาม

ฟันแบบไหน ควรทำครอบฟัน

1. ฟันน้ำนมผุลุกลามมีขนาดใหญ่ หรือมีการผุหลายด้านจนทำให้เหลือเนื้อฟันน้อย ไม่สามารถบูรณะได้ด้วยการอุดฟันน้ำนม

2. ฟันน้ำนมที่ผุลึก มีอาการปวด ต้องรักษารากฟันน้ำนม ภายหลังรักษารากฟันน้ำนม หมอฟันเด็กจะบูรณะด้วยการทำครอบฟันน้ำนม เพื่อช่วยเพิ่มแข็งแรงและป้องกันเชื้อโรคไม่ให้รั่วซึมเข้าไปในฟันน้ำนมที่รักษารากแล้ว

3. ฟันน้ำนมที่มีความผิดปกติของเนื้อฟันจากโรคประจำตัว ยา หรือสภาวะบางอย่าง ทำให้เนื้อฟันไม่แข็งแรงเหมือนฟันปกติ

ข้อดีของการครอบฟันน้ำนมแบบเหล็ก

    หลังทำเสร็จสามารถแปรงทำความสะอาดและใช้บดเคี้ยวอาหารได้เหมือนฟันปกติ มีความแข็งแรง และตัวครอบฟันน้ำนมจะหลุดไปได้เองพร้อมๆกับอายุของฟันน้ำนมซี่นั้นๆ โดยไม่จำเป็นต้องมาถอดครอบฟันน้ำนมออก

 

เครื่องมือกันช่องว่างระหว่างฟัน คืออะไร

มารู้จักการรักษาฟันที่จำเป็นสำหรับลูกน้อย

การใส่เครื่องมือกันช่องว่างระหว่างฟัน (Space Maintainer) จะทำในกรณีที่มีการสูญเสียฟันไปก่อนวัยอันควรทำให้มีช่องว่างเกิดขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันซี่อื่นเบียดเข้ามาในช่องว่างตำแหน่งฟันที่ถูกถอนไป ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นมาตรงตำแหน่งนั้นไม่มีที่เพียงพอ จึงต้องมีการใส่อุปกรณ์ป้องกันฟันล้มหรือเครื่องมือกันช่องว่างระหว่างฟัน

ชนิดของเครื่องมือกันช่องว่างระหว่างฟัน

  1. แบบถอดได้ : สามารถใส่และถอดมาทำความสะอาดได้
  2. แบบติดแน่น : ไม่สามารถถอดเครื่องมือออกเองได้

ข้อเสียจากการไม่ใส่เครื่องมือกันฟันล้ม

  • ฟันเอียงจนฟันแท้ที่ขึ้นมาอยู่ผิดตำแหน่ง
  • เกิดฟันซ้อนเก ทำความสะอาดเศษอาหารบริเวณฟันเหล่านี้ยากกว่าปกติ
  • ฟันไม่สวย ขาดความมั่นใจเวลายิ้ม
  • เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาปัญหาช่องปากมากขึ้นในอนาคต

ข้อดีของเครื่องมือกันฟันล้ม

  • หมอฟันเด็กใช้เวลาใส่เครื่องมือไม่มากเนื่องจากขั้นตอนน้อย 
  • คนไข้ไม่รู้สึกเจ็บขณะติดเครื่องมือ เนื่องจากไม่มีแรงกระทำต่อตัวฟัน
  • ราคาเครื่องมือไม่แพงจนเกินไป
  • ป้องกันฟันเกฟันซ้อนฟันคุดได้

การดูแลรักษาหลังใส่เครื่องมือกันช่องว่างระหว่างฟัน

  • ทำความสะอาดฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอ
  • กรณีใส่แบบติดแน่นควรหลีกเลี่ยงหมากฝรั่งหรือลูกอม
  • สำหรับกรณีที่ใส่อุปกรณ์ป้องกันฟันล้มแบบติดแน่นอาจต้องพบทันตแพทย์ทุกๆ 3 เดือน
  • พบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสอบอุปกรณ์และช่องปาก
Visitors: 41,144