ทันตกรรมทั่วไป
งานทันตกรรมทั่วไป (General Practitioner) คือ
งานดูแลรักษาสุขภาพฟันโดยพื้นฐาน การให้คำปรึกษา การวินิจฉัยโรคเบื้องต้นต่าง ๆ เป็นหัตถการณ์ที่คนไข้ทำมากที่สุด ทั้งเพื่อการรักษา เช่น การอุดฟัน ถอนฟัน และทันตกรรมป้องกัน เช่น ขูดหินปูน เคลือบหลุมรองฟัน เคลือบฟลูออไรด์ เป็นต้น
ทำไมต้องตรวจสุขภาพฟัน
ฟันและช่องปากเป็นส่วนที่เราต้องใช้งานทุกวัน การรับประทานอาหาร การดื่มเครื่องดื่มต่างๆ ทำให้เกิดแบคทีเรียในช่องปาก ผู้ที่ละเลยการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันจะเกิดปัญหา เช่น ฟันผุ มีกลิ่นปาก ปวดฟัน เป็นโรคเหงือก ฟันเป็นคราบเหลือง เป็นต้น อาการเหล่านี้ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวด ทรมาน และ ส่งผลให้มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี ขาดความมั่นใจ และยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาอาการต่างๆเหล่านี้อีกด้วย
เพราะฉะนั้น ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็กสุขภาพช่องปากฟันเป็นประจำ หรือ ทุก 6 เดือน เป็นสิ่งที่ควรทำ จะช่วยให้คุณมีสุขภาพฟันที่ดี และยังสามารถตรวจเช็กสัญญานโรคทันตกรรมได้แต่เนิ่นๆ ช่วยให้จัดการได้ก่อนที่ปัญหานั้นจะลุกลามใหญ่โตนั่นเอง
การขูดหินปูน
การขูดหินปูน เป็นดูแลสุขภาพฟัน โดยการขูดเอาหินปูนทั้งใต้เหงือก และเหนือเหงือกออก โดยเครื่องมือเฉพาะ โดยเครื่องขูดหินปูนจะใช้การสั่นของอัลตราโซนิคเพื่อช่วยให้หินปูนหลุดจากผิวฟัน รวมกับการขูดโดยใช้มือของทันตแพทย์
การขูดหินปูน ขัดฟัน ช่วยลดคราบบนฟัน ลดกลิ่นปาก และป้องกันการเกิดโรคเหงือกอักเสบ เหงือกบวม ซึ่งหากปล่อยไว้นาน อาจเกิดเป็นโรคปริทันต์อักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ฟันโยก และสูญเสียฟันไป
การอุดฟัน
การอุดฟัน คือ วิธีการบูรณะฟันที่มีการสูญเสียเนื้อฟันไป ด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ฟันผุ ฟันบิ่น ฟันแตก อุบัติเหตุต่าง ๆ โดยการเดิมวัสดุชนิดต่าง ๆ เข้าไปเพื่อทดแทนเนื้อฟันที่สูญเสียไป
ในปัจจุบัน วัสดุอุดฟันจะมี 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ
- วัสดุอมัลกัม สีโลหะ เป็นวัสดุที่มีราคาถูก มีความแข็ง แต่ยึดเกาะได้ไม่ดี และไม่สวยงาม
2. วัสดุคอมโพสิต สีเหมือนกัน เป็นวัสดุที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ให้การยึดเกาะที่ดี มีความแข็งแรงเพียงพอต่อการบดเคี้ยวอาหาร มีความสวยงามกลมกลืนกับสีฟันธรรมชาติ
การถอนฟัน
การถอนฟัน คือ การนำซี่ฟันออกจากเบ้ากระดูกขากรรไกร ด้วยอุปกรณ์ และเทคนิคเฉพาะของทันตแพทย์ ให้การรักษาภายใต้ยาชาเฉพาะที่ คนไข้จะไม่รู้สึกเจ็บ แต่อาจรู้สึกถึงแรงกด ๆ หรือแรงจากการดึง โยก เบา ๆ โดยสาเหตุหลักที่ต้องถอนฟันคือ
- ฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน และไม่สามารถรักษาโดยการรักษาคลองรากฟันได้
- ฟันโยก จากโรคปริทันต์ (โรคเหงือก) รุ่นแรง
- ฟันแตก ฟันร้าว ถึงรากฟัน จนไม่สามารถบูรณะได้ด้วยวิธีทันตกรรมอื่น ๆ
- ฟันเกิน ฟันที่เกิดผิดตำแหน่ง
- การถอนเพื่อจัดฟัน ในเคสที่มีปัญหาฟันยื่น ฟันซ้อนเกมาก
- ฟันคุด
โดยปกติหลังการถอนฟันทันตแพทย์จะให้คนไข้กัดผ้าเพื่อห้ามเลือด โดยคนไข้กัดแน่นไว้ประมาณ 30 นาที – 1 ชม. เลือดจะหยุดไหลเอง โดยระหว่างนี้แนะนำคนไข้เลี่ยงการบ้วนน้ำ บ้วนน้ำลาย งดพูดคุย ห้ามอมน้ำ อมน้ำแข็ง และหลังจากเลือดอย่าพยายามนำลิ่มเลือดบริเวณแผลออก ซึ่งอาจทำให้เลือดไหลได้