ฟันปลอมแบบติดแน่น

ฟันปลอมแบบติดแน่น

       ฟันปลอมแบบติดแน่น (Fixed denture) คือฟันปลอมที่ไม่สามารถถอดเข้า-ออกได้ จะยึดติดอยู่อย่างถาวร  ข้อดีคือ ไม่ต้องคอยถอดเข้า-ออก ทำให้ไม่รู้สึกรำคาญและใช้เวลาปรับตัวในการเคี้ยวและพูดน้อย แต่จะมีราคาสูงกว่าฟันปลอมแบบถอดได้ ซึ่งฟันปลอมแบบติดแน่นสามารถ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. สะพานฟัน (Dental Bridge)

       คือฟันปลอมชนิดติดแน่นที่ประกอบด้วยครอบฟันมากกกว่า 1 ซี่เชื่อมติดกัน โดยซี่ที่อยู่ริมสุดทั้ง 2 ฝั่งจะใช้สำหรับสวมเข้าไปบนฟันแท้ที่เหลืออยู่ในช่องปากเพื่อเป็นหลักยึด ตรงกลางของสะพานฟันจึงลอยอยู่เหนือเหงือกคล้ายกับสะพาน ฟันซี่ตรงกลางของสะพานฟันนี้เรียกว่าฟันลอย (Pontics) เป็นฟันซี่ที่ทดแทนฟันที่เสียไปด้วยเหตุนี้ข้อสำคัญคือ ฟันซี่ข้างเคียงที่ใช้เป็นหลักยึดของสะพานฟันจะต้องสมบูรณ์ แข็งแรง หรือฟันข้างเคียงอาจเป็นฟันที่ทำรากฟันเทียมก็ได้เช่นกัน

วัสดุที่ใช้ทำสะพานฟันนั้นคล้ายคลึงกับการทำครอบฟัน นั่นคือมีทั้งแบบทำจากโลหะล้วน เซรามิกล้วน หรือโลหะเคลือบเซรามิก

ทำไมต้องใส่สะพานฟัน?

โดยปกติแล้วฟันทุกซี่นั้นทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการพูด การเคี้ยวอาหาร หรือแม้แต่ส่งเสริมภาพลักษณ์ขณะยิ้ม หากสูญเสียฟันซี่หนึ่งซี่ใดไปจากอุบัติเหตุ หรือฟันผุจนเกิดเป็นช่องว่าง หากปล่อยให้ฟันมีช่องว่างอยู่แบบนั้น อาจทำให้เกิดปัญหาการใช้งานต่างๆ ได้ เช่น

  • ปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร
  • ปัญหาการกัด
  • อาจเกิดความไม่มั่นใจในภาพลักษณ์ของตนเองขณะยิ้มและพูดคุย
  • อาจทำให้เกิดปัญหาฟันล้ม หรือฟันเคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งเดิมได้

ประเภทของวัสดุที่ใช้ในการทำสะพานฟัน

ประเภทของวัสดุที่ใช้ทำสะพานฟันจะเหมือนที่ทำในการทำครอบฟัน คือ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก

 
               
  • สะพานฟันที่ประกอบด้วยครอบฟันแบบเซรามิกและโลหะ Porcelain-fused to Metal (PFM) Bridge
  • สะพานฟันที่ประกอบด้วยครอบฟันแบบเซรามิกล้วน All Porcelain Bridge
  • สะพานฟันที่ประกอบด้วยครอบฟันแบบโลหะล้วน (ทอง) All Gold Bridge

การดูแลรักษาสะพานฟัน

         สะพานฟันมีความแข็งแรง และยึดติดแน่นไปกับฟันธรรมชาติ โดยการดูแลรักษาสะพานฟันไม่ได้มีวิธีที่พิเศษกว่าการดูแลฟันปกติมากนัก ดังนี้

  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ ทันตแพทย์จะแนะนำวิธีการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันระหว่างเหงือกกับตัวสะพานฟัน
  • ไปพบทันตแพทย์เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้ทันตแพทย์ตรวจดูความเรียบร้อยของสะพานฟันและสุขภาพฟันโดยรอบ หากพบปัญหาจะได้แก้ไขได้ตั้งแต่ยังไม่ร้ายแรง
  • ควรกินอาหารให้หลากหลาย เน้นอาหารจำพวกผักผลไม้และไฟเบอร์ (Fiber)
  • หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็งเกินไป เช่น น้ำแข็ง ลูกอม

 

 2. รากฟันเทียม (Dental implant) 

        รากฟันเทียม คือ รากฟันถูกที่สร้างขึ้นมาทำหน้าที่ทดแทนรากฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป คนไข้จะได้รับการผ่าตัดเพื่อฝังรากเทียมที่ทำจากวัสดุไททาเนียม  แบบพิเศษที่ใช้ในวงการทันตกรรม ยึดติดกับกระดูกขากรรไกร รากเทียมจะผสานเข้ากับเนื้อเยื่อในช่องปากได้เป็นอย่างดี ทำหน้าที่ได้เหมือนกับรากฟันของจริง 

รากเทียมทำจากอะไร

  1. ราก (Fixture) มีลักษณะคล้ายสกรู ทำหน้าที่เป็นรากฟันที่เชื่อมติดกับกระดูกขากรรไกร รากฟันทำจากวัสดุไทเทเนียม (Titanium) ที่เข้ากันได้ดีกับเนื้อเยื่อให้ความแข็งแรง ทนแรงบดเคี้ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. แกนฟัน (Abutment) อยู่ตรงกลางระหว่างรากและครอบฟัน เปรียบเสมือนโครงสร้างแกนฟันหลัก ทำหน้าที่เป็นตัวยึดรากฟันไทเทเนียมกับครอบฟันให้มั่นคง
  3. ครอบฟัน (Crown) ผลิตจากเซรามิก ทำรูปร่างและสีให้เหมือนฟันธรรมชาติ

รากฟันเทียมมีกี่แบบ

รากฟันเทียมมี 3 แบบ คือ

รากฟันเทียมซี่เดียว (Single Dental Implant)

         การทำรากฟันเทียมฟันซี่เดียว จะชดเชยฟันที่หายไปทั้งซี่ตั้งเเต่รากฟันจนถึงตัวฟัน
การทำรากฟันเทียมแบบซี่เดียวเหมาะกับคนไข้มีฟันซี่เดียวหายไปหรือหลายซี่ที่ไม่ได้อยู่ติดกัน

 


Single Dental Implant

รากฟันเทียมหลายซี่ (Implant-supported bridge)

          การทำรากฟันเทียมหลายซี่ ใช้การติดสะพานฟันที่รองรับรากฟันเทียม ซึ่งมีแกนฟันที่เชื่อมต่อระหว่างรากฟันเทียมและสะพานฟัน เพื่อชดเชยฟันที่หายไปจำนวน 2 ซี่ขึ้นไปที่อยู่ติดกัน โดยใช้สะพานฟันเป็นตัวปิดช่องว่างตรงกลางของฟันซี่ที่หายไป เหมาะกับคนไข้ที่สูญเสียฟันหลายซี่ที่อยู่ติดกัน

 


Implant-supported Bridge

 

รากฟันเทียมทั้งปาก (Implant-Retained Denture)

         รากฟันเทียมทั้งปาก จะถูกวางเรียงบนแนวเหงือกของคนไข้ เพื่อทดแทนฟันบนหรือฟันล่างทั้งชุด ทันตแพทย์จะวางรากฟันเทียมสี่จุดตามแนวโค้งขากรรไกร ในขั้นตอนการขณะรักษา ฟันปลอมอาจได้รับการปรับแก้ไขเพื่อให้สามารถสวมใส่ได้พอดีกับกระดูกที่ผสานตัวกับรากเทียม

Implant Retained Denture

ข้อดีฟันปลอมชนิดติดแน่น

  • มีความสวยงาม ใกล้เคียงฟันธรรมชาติ
  • แข็งแรง ทนทาน ไม่เปราะหักง่าย
  • มีประสิทธิภาพในการเคี้ยวอาหารได้ใกล้เคียงฟันธรรมชาติ
  • ไม่ก่อให้เกิดความหงุดหงิดและรำคาญขณะเคี้ยวอาหาร

 

 

 

Visitors: 41,214