การรักษารากฟัน
การรักษารากฟัน คืออะไร ?
การรักษารากฟัน คือ ขบวนการกำจัดเชื้อจุลชีพที่อยู่ในโพรงประสาทฟัน หรือเนื้อเยื่อขนาดเล็ก ที่อยู่ใจกลางฟัน อันเป็นเหตุให้เกิดการติดเชื้อ อักเสบ ของโพรงเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน หากโพรงประสาทฟันบางส่วนถูกทำลายจะต้องทำการเอาออกเพื่อรักษาและทำความสะอาดส่วนที่เหลือให้ปราศจากเชื้อโรค และทำการซ่อมแซม อุดคลองรากฟันและบูรณะตัวฟัน เพื่อคืนความแข็งแรงและสวยงาม ให้ฟันกลับมาใช้งานได้ตามปกติ การรักษารากฟัน เป็นวิธีที่ช่วยให้คุณไม่จำเป็นต้องถอนฟันออกไป ซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถช่วยรักษาฟันไว้ได้
ขั้นตอนการรักษารากฟัน
ข้อดีของการรักษารากฟัน
การรักษารากฟันสามารถเก็บรักษาฟันเดิมของคุณเอาไว้ใช้งานได้ต่อไปได้ โดยดีกว่าการถอนฟันแล้วเลือกวิธีการใส่ฟันปลอม เพราะฟันที่รักษารากแล้วจะมีคุณสมบัติเหมือนฟันในปากซี่อื่นๆ คือ มีเบ้ากระดูกยึดให้ฟันแน่นมั่นคงแข็งแรง และให้ความรู้สึกที่ดีกว่าการใส่ฟันปลอม สามารถใช้งานได้ เป็นธรรมชาติ
ทำไมต้องรักษารากฟัน
เมื่อทันตแพทย์ตรวจแล้วพบว่ายังสามารถทำการรักษารากฟัน ได้โดยที่ไม่ต้องถอนออก ก็จะแนะนำให้คุณ รักษารากฟัน ซึ่งประโยชน์ของขบวนการรักษารากฟันจะช่วยให้การเคี้ยวกลับมามีประสิทธิภาพที่ดีเหมือนเคย สามารถใช้ฟันกัดอาหารได้อย่างปกติ ลักษณะรูปร่างของฟันกลับมาสวยงาม ที่ สำคัญที่สุดคือปัญหาสุขภาพฟันไม่ลุกลามป้องกันไม่ให้ฟันซี่อื่นถูกทำร้ายไปด้วย
สาเหตุหลักที่ต้องรักษารากฟัน
- ฟันผุจนติดเชื้อ
- มีปัญหาโรคเหงือก
- ฟันได้รับการกระทบกระแทก จนทำให้ฟันแตกหัก จนถึงโพรงประสาทฟัน
- นอนกัดฟันรุนแรง
- มีพฤติกรรมการเคี้ยวที่ค่อนข้างรุนแรง ส่งผลให้ฟันมีอาการร้าว
คำแนะนำหลังการรักษารากฟัน เราควรปฏิบัติตัวอย่างไร
1. ภายหลังรักษารากฟันใหม่ๆ โดยเฉพาะในครั้งแรกอาจมีอาการเจ็บได้บ้างใน 2-3 วันแรกและจะค่อยๆ จางหายไปเอง
2. ควรระมัดระวังในการใช้งานซี่ฟันที่รักษาราก
3. ระหว่างรักษารากฟันหากวัสดุอุดฟันชั่วคราวเกิดหลุดออกมาให้ผู้ป่วยรีบกลับมาหาทันตแพทย์
4. การรักษาคลองรากฟันเป็นงานที่ต้องทำต่อเนื่อง ต้องมาตามกำหนดระยะเวลาที่นัดหมาย
ฟันที่รับการรักษาจะอยู่ได้นานเท่าใด
ฟันที่ได้รับการรักษาหรือฟื้นฟูสามารถอยู่ได้ตลอดชีวิตถ้ามีการดูแลอย่างเหมาะสม เพราะฟันผุยังสามารถเกิดขึ้นได้อีกในฟันที่รับการรักษาแล้ว สุขอนามัยของปากและฟันที่ดีตลอดจนการพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต